ข้อแนะนำ ก่อนอื่นเราสะกดคำว่า Mask ให้ถูกต้องกันก่อน โดยภาษาไทยจะสะกดเป็นคำว่า "มาสก์" คำที่มักเขียนไม่ถูกต้องคือ มาร์สหน้า, มาร์คหน้า, มาส์กหน้า หรือมาคหน้า
แนะนำ 5 วิธีการมาสก์หน้าให้ดูดซึมได้ดี และควรแช่เย็นหรือไม่?
การมาสก์หน้าเป็นขั้นตอนสำคัญในการดูแลผิว แต่การทำให้สารอาหารดูดซึมได้ดีที่สุดเป็นเรื่องท้าทาย นี่คือ 5 วิธีที่จะช่วยให้การมาสก์หน้าของคุณได้ผลดีที่สุด
1. ทำความสะอาดผิวหน้าอย่างล้ำลึกก่อนมาสก์: การทำความสะอาดผิวหน้าอย่างล้ำลึกจะช่วยลดสิ่งสกปรกและน้ำมันที่อุดตันในรูขุมขน ทำให้ผิวหน้าพร้อมรับสารอาหารจากมาสก์หน้ามากขึ้น.
2. ใช้ตัวช่วยเปิดรูขุมขน: การใช้น้ำอุ่นหรือผ้าชุบน้ำอุ่นทาบที่หน้าก่อนมาสก์สามารถช่วยเปิดรูขุมขน ทำให้สารอาหารจากมาสก์หน้าซึมเข้าสู่ผิวได้ดีขึ้น.
3. เลือกมาสก์หน้าที่เหมาะกับสภาพผิว: การเลือกมาสก์หน้าที่เหมาะสมกับสภาพผิวของคุณ เช่น มาสก์เพื่อความชุ่มชื้นสำหรับผิวแห้ง หรือมาสก์หน้าควบคุมน้ำมันสำหรับผิวมัน จะช่วยให้ผิวรับสารอาหารได้ดีที่สุด.
4. การนวดผิวหน้าในขณะมาสก์: การนวดเบาๆ ในขณะมาสก์หน้าไม่เพียงแต่ช่วยให้ผ่อนคลาย แต่ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้ผิวหน้าดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น.
5. ไม่ล้างหน้าทันทีหลังมาสก์: หลังจากลบมาสก์หน้า ควรใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีก่อนล้างหน้า เพื่อให้สารอาหารจากมาสก์ซึมเข้าสู่ผิวอย่างเต็มที่.
การใช้ครีมบำรุงที่เหมาะสมหลังการมาสก์ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน มันจะช่วยล็อคความชุ่มชื้นและสารอาหารในผิว
การมาสก์หน้าควรแช่เย็นหรือไม่: สามารถแช่เย็นได้ แต่ความเย็นอาจทำให้รูขุมขนหหดตัวในช่วงแรก หลังจากผ่านไป 5~10 นาที มาสก์จะถูกอุณหภูมิร่างกายปรับให้สูงขึ้นตามธรรมชาติ อาจมีผลทำให้ดูดซึมช้าลงเท่านั้น ควรมาส์กหน้า 20~30 นาที ขึ้นอยู่กับประเภทมาส์กด้วย
การมาสก์หน้าควรแช่เย็นหรือไม่แช่เย็นแบบไหนดีกว่ากัน?
มาสก์แช่เย็น: ประสิทธิภาพดูดซึมน้อยกว่าแบบไม่แช่เย็น เมื่อเทียบกับมาสก์หน้าแบรนด์เดียวกัน ระยะเวลาเท่ากัน แต่การแช่เย็นสารอาหารผิวและโปรตีนอาจมีคุณภาพมากกว่าเมื่อคำนึงถึงวิธีการเก็บรักษา สำหรับสภาพอากาศประเทศไทย
มาสก์ไม่แช่เย็น: เริ่มดูดซึมได้เร็วกว่า หากมาสก์ถูกเก็บรักษาไว้อุณหภูมิห้อง 20~25 องศา หรือต่ำกว่า ยังคงสามารถเก็บรักษาสารอาหารผิว หรือโปรตีนภายในมาสก์หน้าได้อย่างมีคุณภาพ
สรุป: มาสก์หน้าแบบแช่เย็นดีกว่า หากคุณอาศัยอยู่ในประเทศไทยหรืออากาศร้อน หรืออุณหภูมิห้องสูงกว่า 20~25 องศา
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูดซึมผ่านผิวหนังได้
สามารถดูดซึมได้ 3 ทางด้วยกัน
1. Intercellular - การดูดซึมผ่านทาง Skinbarrier
2. Intracellular - การดูดซึมผ่านทางเซลล์โดยตรง
3. Transfollicular - การดูดซึมผ่านทางรูขุมขน
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
อ้างอิงข้อมูลทางการแพทย์
การดูดซึมทางผิวหนัง (percutaneous absorption) คือ กลไกหรือวิถีการซึมผ่านชั้นผิวหนังต่างๆ ของยาที่ให้ผ่านทางผิวหนัง ยาส่วนใหญ่อาศัยเส้นทางผ่านผิวหนัง ได้แก่ เส้นทางผ่านเซลล์โดยตรง (transcellular) เส้นทางผ่านระหว่างเซลล์ (intercellular) และรยางค์ผิวหนัง (appendageal route) โดย อาศัยหนึ่งเส้นทางหรือหลายเส้นทางร่วมกัน ยาชนิดใดจะแพร่ผ่านผิวหนังได้มากหรือน้อยนอกจากคุณสมบัติของตัวยาสำคัญและรูปแบบยาแล้ว
ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการแพร่ผ่าน เช่น ความชุ่มน้ำของผิวหนัง อุณหภูมิของผิวหนัง และการใช้สารช่วยเพิ่มการดูดซึม เป็นต้น ซึ่งการตั้งตำรับสำหรับยาที่ใช้เฉพาะที่ผิวหนังจำเป็นจะต้องทราบวิถีการดูดซึมหรือแพร่ผ่านเข้าไปในผิวหนัง และปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการดูดซึมทางผิวหนัง เพื่อใช้ในการออกแบบและตั้งตำรับยาที่ใช้เฉพาะที่ผิวหนังให้สามารถดูดซึมหรือแพร่ผ่านเข้าภายในผิวหนังได้
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงทางการแพทย์จาก
ผศ.ดร.ภญ.คัทลียา เมฆจรัสกุล
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Yorumlar